ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมองคนเรา

ความจำนั้นเป็นขั้นตอนการเก็บสะสมข้อมูลที่ต่อเนื่อง ความจำในอดีตนั้นมีผลต่อการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบัน การตัดสินใจต่างๆของเราส่วนใหญ่นั้นพึ่งพาอาศัยข้อมูลจากความจำทั้งสิ้น แต่ความจำนั้นถูกสร้างขึ้นอย่างไร?

ไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับความจำ โดยกระบวนการสร้างความจำนั้นเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ทำงานคู่ขนานกัน (dual-process) กระบวนการหนึ่งคือกระบวนการตัดสินใจด้วยเหตุผล อีกกระบวนการเกิดจากการตัดสินใจด้วยอารมณ์ความรู้สึกหรือโดยสัญชาตญาณ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการตัดสินใจมนุษย์ของเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เดเนียล คาร์เนแมน และ เอมอส ไทฟสกีในทั้งสองกระบวนการนี้ จะมีขั้นตอนการรับข้อมูล (encoding) การจัดเก็บ (storage) และการเรียกใช้ (recall)

ตัวอย่าง

ลองนึกถึงตอนที่คุณหัดขับรถ หรือปั่นจักรยานเป็นครั้งแรก ตอนเริ่มเราใช้ความพยายามอย่างมากในการทำความเข้าใจแต่ละขั้นตอน หลายๆคนอาจจะจำได้ด้วยซ้ำว่าหัดที่ไหน ใครเป็นคนสอน เนื่องจากว่าสมองของเรานั้นเก็บรายละเอียดในช่วงที่กำลังจดจำ เมื่อเวลาผ่านไปพอเราเริ่มชำนาญขึ้น การขับรถหรือปั่นจักรยานกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ปฏิบัติทุกวันโดยไม่ได้ใส่ใจรายละเอียดเท่าช่วงที่กำลังเรียนรู้  บางคนสามารถขับรถไปร้องเพลงไป ปั่นจักรยานไปชมวิวไป เราสามารถทำสิ่งเหล่านี้พร้อมกันเนื่องจากการขับรถหรือปั่นจักรยานนั้นกลายเป็นเสมือนสัญชาตญาณไปแล้ว นี่คือตัวอย่างของกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเราแบ่งเป็น 2  กระบวนการ

กระบวนการ 1 อารมณ์
การบวนการ 2 เหตุผล

เราสามารถโยงเรื่องนี้สู่การเรียนรู้ของเด็กๆได้อย่างไร

กระบวนการที่ 1 นั้นสัมพันธ์กับความจำและการเรียกใช้ข้อมูล
ส่วนการบวนการที่ 2 เกี่ยวข้องการการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา

ต่อไปมาขยายความเรื่องกระบวนการที่ 1 และความจำ
กระบวนการที่ 1 นั้นเร็วเสมือนกลไกอัตโนมัติ ในห้องเรียนนักเรียกมักใช้กระบวนการที่ 1 เมื่อท่องสูตรคูณ ท่องจำคำตอบจากหนังสือที่อ่านมา
กระบวนการที่ 2 นั้นเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้รับโจทย์ที่ต้องแก้โดยการคิดวิเคราะห์ หรือหาทางแก้ปัญหาโดยวิธีใหม่ๆที่ยังไม่เคยเรียนมาก่อน

การเรียนรู้ที่ดีนั้นจึงไม่ควรมีเพียงกระบวนการหนึ่ง แต่เป็นการผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ เนื่องจากกระบวนการที่ 2 ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากกระบวนการที่ 1 เช่นการเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ในความจำ หรือความรวดเร็วในการตัดสินใจ ควบคู่กันไป

เขียนโดย: นพ.พิฑูรย์ มณีไพโรจน์, ผู้ก่อตั้งบริษัท มาร์ค วัน อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

อ้างอิง:
Brown, P.C., Roediger, H.L. & McDaniel, M.A. 2014. Make it stick: The science of successful learning. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Kaufman, S.B. 2011. Intelligence and the cognitive unconscious. In The Cambridge handbook of intelligence. R.J. Sternberg & S.B. Kaufman, Eds. New York, NY: Cambridge University Press.